หน้าหลัก 
 ข่าวสาร 
สัมภาษณ์ผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
 บทความพิเศษ 
กฎหมายพลังงาน
บริหารจัดการพลังงาน
ISO 50001
ข่าวสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
บริหารจัดการขยะ
สถิติพลังงาน
ภาวะโลกร้อน
แอพพลิเคชั่นรักษ์โลก
 พลังงานทดแทน 
พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานลม
พลังงานไบโอ
พลังงานน้ำ
พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
พลังงานคลื่น
พลังงานใต้พิภพ
 สินค้ารักษ์โลก 
นวัตกรรม
 เทคนิคการประหยัด 
วิธีประหยัดพลังงาน
 นิตยสารพลังงาน 
ฉบับล่าสุด
ฉบับย้อนหลัง
สมัครสมาชิก
 แกลเลอรี่ 
ภาพ
คลิปวีดีโอ
คลิปเสียง
เกมส์
ดาวน์โหลด
 ติดต่อเรา 
เกี่ยวกับเรา
สนใจโฆษณา
สมัครงาน
Energy Call
หมวดพลังงาน
หมวดอุตสาหกรรม
หมวดวิศวกรรม
หมวดยานยนต์
หมวดสิ่งแวดล้อม
หมวดทั่วไป
 
 

   

กังหันลมจิ๋ว อาจช่วยชาร์ตพลังงานมือถือ



        สัปดาห์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเท็กซัสที่อาร์ลิงตันยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรสำหรับกังหันจิ๋วที่ออกแบบโดยผู้ร่วมงานวิจัย Smitha Rao และ JC Chiao, ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าของทางมหาวิทยาลัย


กังหันลมขนาด 2 มิลลิเมตร จำนวน 1000 ชิ้น อาจถูกนำมาประกอบเป็นกรอบโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถชาร์ตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ พวกเขายังคาดหวังอีกว่ากังหันลมจิ๋วนี้จะสามารถผลิตได้ในราคาถูกโดยใช้เทคนิคจากอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor Industry)

การทำงานของทั้งคู่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่ส่วนใหญ่มักคิดว่า การผลิตพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องสร้างฐานโรงงานให้ใหญ่เท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งสองไม่ได้สนใจจะทำการใหญ่ขนาดนั้น พวกเขาแค่ออกแบบเพื่อหวังใช้ในการผลิตรากฟันเทียม หรือเซนเซอร์เพื่อใช้ในทางการแพทย์ กังหันลมนั้นเป็นการทดลองที่พวกเขาไม่คาดหวังว่ามันจะประสบผลสำเร็จ

“เราทำไปเพื่อความสนุกเท่านั้น” Chiao กล่าว

แรงบันดาลใจมาจากลูกสาววัย 3 ปีของ Rao ที่วิ่งผ่านมากับกังหันที่อยู่ในมือหนูน้อย ในขณะที่เธอกำลังพูดถึงการออกแบบอุปกรณ์การผ่าตัดกับ Chiao ว่าใบมีดนั้นเปราะบางเกินกว่าที่จะทนต่อลมแรงใด ๆ และพวกเขาก็ค้นพบทางออก เมื่อได้รับต้นแบบอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ขนาดเล็กระดับไมโคร (Micro-Electrical-Mechanical-System –MEMS) ที่นำโลหะผสมกับนิเกลที่มีความยืดหยุ่น มาทำเป็นใบมีดที่สามารถทนต่อแรงระเบิดลมได้

โดยทั่วไปเรามักยึดติดกับขนาดใหญ่ว่าสามารถสร้างประสิทธิภาพในการผลิตได้มากขึ้น ทั้งที่หลักทางกายภาพด้านอื่นนั้นสามารถดึงเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ว่าวผลิตพลังงานไฟฟ้า (Mikai power) แทนที่จะใช้กังหันลมขนาดใหญ่ที่ก็ไม่สามารถคาดเดาถึงกำลังแรงลมหรือทิศทาง Mikai power กลับใช้ว่าวในการเข้าถึงพลังงานธรรมชาตินั้นคือ การทำให้ว่าวติดลมบน

แม้นักวิจัยจะไม่ได้สร้างกังหันลมเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานใด ๆ ในโลก แต่การออกแบบของพวกเขาอาจมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่นค่าใช้จ่ายที่ถูกลงและความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้น

“ถ้ามัวแต่คำนึงถึงการสร้างกังหันลมใหญ่ และเมื่อมันพัง ทุกอย่างก็ต้องจบ” Chiao กล่าว

เขายังเพิ่มเติมอีกว่า กังหันลมนี้อาจนำไปใช้ในเรื่องที่ธรรมดาทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น โคมไฟในสนามหลังบ้าน เซนเซอร์ของรีโมท หรือกำลังไฟสำรองในช่วงค่ำที่จะช่วยเสริมพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตได้เฉพาะช่วงเวลาที่มีแสง  นักวิจัยทั้งสองหวังว่าจะนำเสนอผลงานของพวกเขาในที่ประชุมภายในปีนี้




----------------------------------------------------------
อ่านหัวข้อ พลังงานลม ทั้งหมด

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
- พลังงานทดแทน
- พลังงานแสงอาทิตย์
- พลังงานไบโอ
- พลังงานน้ำ
- พลังงานนิวเคลียร์
- พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
- พลังงานคลื่น
- พลังงานใต้พิภพ

 

 

 

 

TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/7-14, Soi Ramkhamhaeng 4

Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

Exposition

BUS & TRUCK '13

ENERGY SAVING '14

ARCHITECT '13



Publication & Website

BuilderNews Newspaper

BUS & TRUCK Newspaper

Energy Saving Magazine

HotGolf Newspaper

BuilderClick.com

Copyright © 2013 All rights reserved. TTF International  Co.,Ltd.